Detail page : mb_clinic

07 ม.ค. 2555 เวลา 11:01:09
ปริทันต์อักเสบ...โรคเหงือกที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรมองข้าม

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าฟันก็คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับเหงือก หรือ เนื้อเยื่อปริทันต์ ซึ่งสามารถแบ่งตามความรุนแรงของโรคได้เป็น โรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบ (บางคนรู้จักในชื่อรำมะนาด)  โดยโรคเหงือกอักเสบนั้นเกิดจากเนื้อเยื่อเหงือกรอบๆ ฟันมีการอักเสบ บวม แดง อาจมีเลือดออกได้ แต่โรคปริทันต์อักเสบนั้นเป็นอาการที่รุนแรงกว่าเหงือกอักเสบ คือนอกจากมีการอักเสบของเหงือกแล้ว ยังมีการทำลายกระดูกรอบรากฟันร่วมด้วยครับ
    สำหรับสาเหตุหลักๆ ของโรคปริทันต์อักเสบนั้นเกิดจากแบคทีเรียที่อยู่บนผิวฟันครับ  ซึ่งเริ่มแรกจะมีลักษณะนิ่มแต่หากแปรงฟันไม่สะอาดก็จะมีแร่ธาตุต่างๆในน้ำลายมาตกตะกอนจับตัวแข็งขึ้นเป็นหินปูนโดยในระยะแรกจะเกาะอยู่เหนือขอบเหงือก ทำให้มีการอักเสบของเหงือก เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ และเมื่อหินปูนเกาะมากขึ้นเรื่อยๆ จะเริ่มเกาะเข้าไปตามซอกระหว่างฟันกับเหงือกลึกลงไปเรื่อยๆ เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ และเกิดการทำลายกระดูกรอบรากฟันร่วมด้วยทำให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ 
    มีหลายๆการศึกษาที่พบว่าการเป็นโรคเหงือกอักเสบ หรือ โรคปริทันต์อักเสบ ส่งผลอย่างมากต่อการตั้งครรภ์ เช่น การศึกษาของ Jeffcoat และคณะ ในปี2001 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ ที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีเหงือกสุขภาพดี 4-7เท่า ขึ้นกับระดับความรุนแรงของการอักเสบ ซึ่งสาเหตุเกิดจากการที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบจะทำให้ร่างกายหลั่งสารบางตัวเข้าไปในกระแสเลือด ซึ่งสารเหล่านั้นจะมีผลทำให้เกิดการบีบตัวของช่องคลอด, อีกการศึกษาหนึ่งได้แก่การศึกษาของ Offenbacher และ คณะ ในปี 1996 ศึกษา พบว่า มารดาที่คลอดก่อนกำหนด หรือมารดาที่คลอด ทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อย จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบมากกว่ามารดาที่คลอดทารกปกติมากถึง 7.9 เท่า นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของมหาวิทยาลัย Case Western University สหรัฐอเมริกา รายงานว่าได้พบเชื้อแบคทีเรียชื่อ Fusobacteriam nucleatum ซึ่งอยู่ในช่องปาก สามารถเข้าไปตามหลอดเลือดและเข้าสู่รกของหนูทดลองได้ และยิ่งกว่านั้นคือพบผู้หญิงตั้งครรภ์วัย 35 ปี ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและมีเลือดออกตามเหงือก สูญเสียทารกในระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กปรากฏว่า พบแบคทีเรียในกระเพาะและปอดของเด็ก ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในช่องปากของแม่ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับโรคปริทันต์อักเสบ ในหญิงตั้งครรภ์
    นอกจากการอักเสบของเหงือกที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแล้ว ยังพบการบวมของเหงือกที่มีลักษณะเป็นก้อนระหว่างฟัน อาจเกิดบางจุดหรือเกิดทั่วทั้งปากก็ได้ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ที่เรียกว่า pyogenic granuloma (pregnancy tumor) โอ้ tumor คุ้นๆ ฟังดูเหมือนเนื้องอก จริงๆแล้วก็คือเนื้องอกนั่นแหละ แต่เกิดขึ้นได้เป็นปกติในหญิงตั้งครรภ์  ไม่ได้ร้ายแรงอะไร เว้นแต่จะทำให้รำคาญ หรือมีเลือดออกเวลามีสิ่งของไปโดน และทำให้ทำความสะอาดยากมากขึ้น และจะมีขนาดค่อยๆเล็กลงและหายไปหลังคลอด แต่ในบางคนอาจเล็กลง แต่ไม่หายไป ก็อาจไปตัดออกก็เป็นปกติครับ
    อ่านแล้วเริ่มรู้สึกถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปากหรือยังครับ จริงๆ แล้วการดูแลสุขภาพช่องปากไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลยครับ แค่ใช้เวลาวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 5-10 นาทีเท่านั้นเองและอย่าลืมขอเวลาอีกสักเล็กน้อยมาตรวจทุกๆ 6 เดือน เท่านี้คุณแม่ทุกท่านก็สามารถดูแลสุขภาพช่องปากและลูกน้อยในครรภ์ได้แล้วนะครับ


Last Column : mb_clinic

Q :  ตอนนี้ดิฉันตั้งครรภ์ได้ 7 เดือน น้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม 13 กิโลกรัม  เดิม 48 กิโลกรัม  ทำให้มีอาการเจ็บที่ข้อเท...
Q : ตอนนี้ดิฉันอายุ  36 ปี  มีบุตรแล้วอายุ 3 ขวบ เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกไปแล้วตอนช่วงหลังคลอด  แล้วไม่ได้ตรวจอีก ...
Q : ตอนนี้ดิฉันมีบุตรแล้วอายุได้ 2 ขวบค่ะ กำลังตั้งครรภ์ลูกคนที่ 2 ได้ 10 สัปดาห์ รู้สึกอ่อนเพลียมากเลย จนไม่ค่อยได้อ่านนิทานให้ลูก...
Q : หลังจากอัลตราซาวด์ตอนอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ พบว่าลูกในครรภ์ตัวค่อนข้างเล็ก น้ำหนักเพียง 1,700 กรัม แต่ไม่พบว่าลูกมีความพิการแต่อย...
Q : ตอนนี้ดิฉันใกล้คลอดเต็มทีแล้วค่ะ กำลังตัดสินใจว่าอยากให้สามีเข้าไปในห้องคลอดด้วย เพราะอยากให้เขาได้เห็นความลำบากของคนเป็นแม่ จะ...
Q :  ปัจจุบันดิฉันอายุ 35 ปีแล้ว กำลังวางแผนตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2  แต่ดิฉันไม่อยาก  เจาะน้ำคร่ำ เพื่อนแนะนำว่าสามารถต...
Q : ดิฉันอายุ 25 ปีค่ะ ป่วยเป็นโรคไวรัส C และกำลังตั้งครรภ์ได้ 6 สัปดาห์ เคยทราบมาว่าถ้าเป็นไวรัส B จะสามารถติดต่อสู่ลูกได้  แ...
Q : ตอนนี้ดิฉันอายุ 32 ปีค่ะ กำลังวางแผนตั้งครรภ์ครั้งที่ 2  ด้วยความที่ท้องแรกผ่าตัดคลอด และมีปัญหาเรื่องปากมดลูกเปิดน้อย แต่...
Q : การตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูงคืออะไรคะ ดิฉันอายุ 40 ปี แต่สุขภาพโดยรวมแข็งแรงเพราะออกกำลังกายเป็นประจำ ถือว่ายังมีความเสี่ยงอยู่ไหม...
Q : ลูกสาววัย 2 ขวบ ไม่ยอมนอนกลางวันเลยค่ะ ลูกจะตื่นตัวตลอดเวลา พอทำท่าเคลิ้มจะพานอนลูกจะฝืนเพื่อจะตื่น ตอนกลางคืนก็เช่นกัน ลูกมักจ...
1  2  3  4  Next