Detail page : family_law

29 ต.ค. 2553 เวลา 13:21:39
ตรวจ DNA…บังคับกันได้หรือไม่

    ผมเชื่อว่าที่ผ่านมาหลายๆ คนคงจะได้ยินข่าวเรื่องของการตรวจหรือไม่ตรวจ DNA ของคนนั้นคนนี้ก็มากมาย ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ได้ยินได้ฟังเรื่องราวต่างๆ มาเหมือนกัน และแน่นอนครับว่า มีคำถามมากมายที่หลายๆ คนสงสัยมาถามผมซึ่งเป็นทนาย ผมก็เลยรวบรวมเอาคำถามที่เพื่อนๆ ถามกันมาคุยคุณผู้อ่านได้ฟังด้วย
    Q : ในกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่ยอมตรวจ DNA ฝ่ายชายสามารถฟ้องให้ศาลบังคับได้หรือไม่ (รวมถึงหากฝ่ายชายไม่ยอมตรวจ ฝ่ายหญิงสามารถฟ้องให้ศาลบังคับได้หรือไม่) และศาลจะสามารถบังคับได้ในกรณีไหนบ้าง
    A : ในการตรวจดีเอ็นเอ (DNA) ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไปบังคับอีกฝ่ายตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ (DNA) ไม่ได้  เว้นแต่ เป็นคำสั่งของศาลในกรณีที่ฝ่ายชายยื่นคำร้องขอรับรองเด็กเป็นลูกแต่ฝ่ายชายต้องแสดงเจตนาว่า ประสงค์จะรับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมาย ไม่ใช่จะขอให้ตรวจดีเอ็นเอก่อนแล้วค่อยรับผิดชอบ ซึ่งศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจว่าเป็นข้อพิพาทที่สำคัญในคดีหรือไม่ ศาลไม่จำเป็นต้องสั่งให้ตรวจพิสูจน์ดีเอ็นดีในทุกคดี ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์และพยานแวดล้อม เช่น ถ้าพิสูจน์ได้ว่าช่วงเวลาที่ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ คบหาอยู่กับชายเพียงคนเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ แต่ถ้าคาราคาซังกันก็อาจจำเป็นที่ต้องตรวจเพื่อพิสูจน์ความจริงให้กระจ่างต่อไป
    Q :  หากตรวจ DNA ออกมาแล้วปรากฏว่าไม่ตรง ฝ่ายชายสามารถที่จะฟ้องกลับในฐานะทำให้เสียงชื่อเสียงได้หรือไม่
    A :   หากมีการตรวจพิสูจน์แล้วฝ่ายชายไม่ใช่พ่อ ฝ่ายชายคงไม่สามารถไปยื่นฟ้องฝ่ายหญิง ฐานหมิ่นประมาททำให้เสียชื่อเสียง หรือเรียกค่าเสียหายได้ เพราะฝ่ายหญิงแม้จะเป็นผู้รู้ดีที่สุดว่าใครเป็นพ่อของลูก แต่ก็อาจเกิดความผิดพลาดได้โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ
   Q : และหากตรวจ DNA ออกมาแล้ว ปรากฏว่าเป็นลูกของฝ่ายชายจริงๆ ฝ่ายหญิงสามารถที่จะฟ้องให้ฝ่ายชายรับเป็นพ่อได้หรือไม่  และหากฝ่ายชายไม่ยอมรับเป็นพ่อ จะมีความผิดหรือไม่
   A :  ดังที่แจ้งแล้วว่าในการตรวจดีเอ็นเอ (DNA)จะมีขึ้นได้เมื่อฝ่ายชายยื่นคำร้องต่อศาลขอรับรองเด็กเป็นลูกโดยชอบด้วยกฏหมาย เมื่อมีการยื่นคำร้องและศาลมีคำพิพากษาออกมาแล้วว่าฝ่ายชายเป็นพ่อที่แท้จริงของเด็ก  นิติสัมพันธ์ในทางกฎหมายย่อมเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการรับมรดกต่างๆ ฝ่ายชายย่อมมีหน้าที่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูเด็กเมื่อไม่อุปการะเลี้ยงดูมารดาย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ตามกฎหมาย
   Q : และหากฝ่ายชายยอมรับเด็กเป็นลูก  แต่ไม่ยอมรับฝ่ายหญิงเป็นภรรยา ฝ่ายหญิงสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดูได้หรือไม่
    A : หากฝ่ายชายยอมรับเฉพาะลูก  เนื่องจากชายหญิงดังกล่าวไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงคู่นั้น กฎหมายไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันจึงไม่มี สิทธิและหน้าที่ใดๆ ต่อกัน  ในเรื่องทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินของใครมีอยู่ก่อนเป็นของคนนั้น แต่ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นของที่หามาได้ร่วมกันแม้กฎหมายไม่ถือว่าเป็นสินสมรส แต่ก็ถือว่า ทรัพย์สินนั้นเป็นของทั้ง ๒ คนร่วมกัน คือเป็นกรรมสิทธิ์รวมทั้งคู่ต่างมีสิทธิในทรัพย์สินนั้นคนละเท่าๆกัน  ผลเกี่ยวกับบุตรที่เกิดมา เมื่อกฎหมายไม่ถือว่ามีการสมรสเกิดขึ้น เด็กที่เกิดมาในส่วนของหญิง ย่อมถือว่า เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของตนอยู่ แต่ในด้านชายนั้น กฎหมายถือว่า ชายนั้นมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กคนนั้น
    สุดท้ายผมขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยครับว่า  ในกรณีที่สามีและภรรยาแต่งงานกันแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แล้วเกิดตั้งครรภ์จนคลอด และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก่อนคลอดน้อง ถือว่า ลูกที่เกิดมาเป็นสิทธิของแม่โดยชอบธรรม ในใบเกิดลูก จะมีทั้งชื่อมารดาและบิดาครบทั้งสองคนหรือ จะมีแค่ชื่อแม่คนเดียวเพราะเลิกกันตั้งแต่ลูกยังไม่เกิดหรือผู้ชายไม่ยอมรับผิดชอบต่อฝ่ายหญิงและไม่ยอมให้เอกสารตัวเองสำเนาบัตรประชาชนมาแจ้งเกิดตอนคลอดก็แล้วแต่กรณี
    ในกรณีที่ระบุชื่อพ่อ ส่วนนามสกุลลูกที่เกิดมานั้นสามารถใช้ได้ทั้งนามสกุลพ่อและนามสกุลแม่ ในกรณีที่ใช้นามสกุลพ่อ ลูกก็มิได้มีสิทธิต่างๆ ที่ลูกจะได้รับจากพ่อเช่นมรดก เพราะยังเป็นลูกที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าต่อมาวันใดที่สามีและภรรยา จดทะเบียนสมรส หลังจากที่คลอดลูกแล้วทางกฎหมายให้ถือว่าเป็นลูกที่ชอบด้วยกฎหมายทันที โดยไม่ต้องมีการรับรองบุตรจากผู้เป็นบิดา ส่วนคุณแม่ตอนที่ตั้งท้อง แต่มีปัญหากับคุณพ่อและไม่ยอมแจ้งชื่อคุณพ่อนั้นในใบเกิดจะมีแต่ชื่อมารดาผู้ให้กำเนิดแค่คนเดียว สูติบัตรของลูกไม่มีชื่อพ่อ หรือที่เรียกว่า ไม่ปรากฏบิดา ส่วนการเพิ่มชื่อพ่อในสูติบัตร ทำได้กรณีเดียว คือเพิ่มชื่อผู้เป็นพ่อจริง ๆ ของลูกเท่านั้น ไม่สามารถเพิ่มชื่อคนอื่นเข้าไปได้เลย แม้กระทั่งญาติ เพราะการเพิ่มชื่อบิดาในสูติบัตร ต้องมีหลักฐานการตรวจ DNA แสดงความเป็นพ่อ แม่ และลูก นำไปแนบกับคำขอเพิ่มชื่อบิดาในสูติบัตรเด็ก แล้วทางเขตจะพิมพ์สูติบัตรออกมาให้ใหม่ โดยในสูติบัตรใบใหม่นี้จะมีขื่อบิดาด้วย
 

Last Column : family_law

Q : คุณพ่อที่จดทะเบียนรับลูกเป็นบุตรแล้ว ต่อมาจะเลิกรับรองบุตรได้หรือไม่ค่ะ  และถ้าแม่ของเด็กไม่ยอม พ่อสามารถที่จะดำเนินการเอง...
Q :  ดิฉันแต่งงานกับสามีกันมาประมาณ 4 ปี และมีลูกด้วยกัน 2 คน  เราไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่มีการรับรองบุตร และลูกก็...
Q :  ดิฉันกับสามีแต่งงานกันมาประมาณ 2 ปี แต่ยังไม่มีลูกด้วย และที่ผ่านมาน้องสาวของสามีได้แต่งงานกำลังตั้งท้องลูกได้ 6 เดือน แต...
Q :  ดิฉันกับสามีกำลังแยกทางกันด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างค่ะ  ซึ่งก่อนหน้านี้เราแต่งงานจดทะเบียนสมรสกันมาประมาณ 3 ปีกว่า และสา...
Q : ผมเลี้ยงสุนัขไว้ตัวหนึ่ง  จริงๆ ก็ไม่ใช้สุนักของผมหรอกครับ เผอิญว่ามันอยู่หน้าบ้านผม และผมก็ให้ข้าวให้น้ำมัน แต่ไม่ได้เอาม...
Q : ดิฉันเป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยน้ำท่วม บ้านของดิฉันอยู่ที่คลอง 4 น้ำท่วมสูง 1 เมตร และรอบๆ  บริเวณสูงกว่าเมตรครึ่ง ซึ่...
    Family law ฉบับนี้ผมมีคำตอบสำหรับข้อข้องใจที่หลายๆ คนกำลังสงสัยว่า “รถโดนน้ำท่วม จะเคลมได้ไหม” ซึ่งเ...
Q :  ดิฉันอยู่กินกับสามีมา 5 ปี มีลูกด้วยกัน 2 คน  เวลาที่สามีกินเหล้าเมาก็มักจะด่าว่าดิฉัน บางครั้งก็ลงมือทุบตีดิฉันเป็น...
A : ดิฉันกับสามีแต่งงานจดทะเบียนสมรสกันและมีลูกด้วยกัน 1 คน อายุ7 ขวบ  ก่อนหน้านี้ครอบครัวของเราอยู่กันแบบไม่มีปัญหาอะไร&...
  Q : ดิฉันกับสามีแต่งงานจดทะเบียนสมรสและมีลูกด้วยกัน 2 คน ตอนนี้เรากำลังจะหย่ากันเพราะมีปัญหาครอบครัวที่ไม่สามารถตกล...
1  2  3  4  Next