Detail page : family_law

24 มิ.ย. 2554 เวลา 19:44:01
เมื่อหนูๆ ต้องมีบัตรประจำตัว

    เป็นที่ทราบกันอย่างทั่วถึงแล้วว่าครับว่า วันที่ 9 กรกฏาคม 2554  คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง ที่มีบุตรหลานอายุตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไป ต้องพาบุตรหลานของท่านไปทำบัตรประชาชน เนื่องจากเราพูดกันถึงเรื่องนี้มาแล้ว Family law ฉบับนี้ผมเลยอยากพูดถึงกฎหมายฉบับนี้เสียหน่อยครับ
    ราชกิจจานุเบกษาฉบับวันที่ 11 พฤษภาคม 2554  ได้ลงประกาศกฎหมายฉบับหนึ่งที่มีความสำคัญ  คือ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554  เป็นกฎหมายที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมสิทธิและหน้าที่ของบุคคลสัญชาติไทย  แต่เดิมคนไทยจะมีบัตรประจำตัวประชาชนเมื่ออายุครบ 15 ปี ไปจนถึงอายุครบ 70 ปี   กรมการปกครองเป็นหน่วยงานที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ออกมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการปลอมแปลงสวมสิทธิ์สัญชาติไทยของคนต่างด้าว การแก้ไขกฎหมายจะสนองวัตถุประสงค์ดังกล่าวหรือไม่ ต้องติดตามตรวจสอบกันต่อไป แต่ความเข้าใจที่คนไทยทุกคนถือปฏิบัติกันว่าเมื่อเด็กเปลี่ยนจากคำนำหน้าว่า “เด็กชาย” หรือ “เด็กหญิง”เป็น “นาย” หรือ “นางสาว” ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป เมื่อเด็กอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ มีสัญชาติไทย และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องไปทำและมีบัตรประชาชน โดยบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็นนั้นเป็นผู้จัดการแทนเด็ก
    สรุปจากสาระสำคัญตามกฎหมายฉบับนี้
1.    กฎหมายมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป
2.    ผู้มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องมีบัตประจำตัวประชาชน เว้นแต่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย
3.    ผู้ขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก ต้องยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์
4.    บัตรให้ใช้ได้นับแต่วันออกบัตรและมีอายุ 8 ปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตร
5.    การขอมีบัตรหรือขอเปลี่ยนบัตรของผู้มีอายุไม่ถึง 15 ปี เป็นหน้าที่ของบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลซึ่งรับดูแลผู้นั้นอยู่เป็นผู้ยื่นคำขอ แต่ไม่ตัดสิทธิบุคคลนั้นที่จะยื่นขอด้วยตนเอง
6.    การฝ่าฝืน กฎหมายกำหนดโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
7.    ผู้ถือบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ไม่สามารถแสดงบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับ เมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
    นักวิชาการเรื่องสัญชาติ ให้ข้อคิดเห็นว่า กฎหมายฉบับนี้เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน มีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดี เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงประชากร ทำให้ฐานข้อมูลการทะเบียนแน่นมากขึ้น  สำหรับข้อเสียคือ เป็นการเปิดช่องให้มีการทุจริตในหน่วยงานราชการทุกระดับมากขึ้น เกี่ยวกับการจัดหาบัตร การสวมสิทธิ์มีบัตรของคนต่างด้าว 
    เมื่อกฎหมายมีผลบังคับ เป็นหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติ ช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่องดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองและข้าราชการผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ต่อไปครับ

 

Last Column : family_law

  Q : ดิฉันกับสามีแต่งงานจดทะเบียนสมรสและมีลูกด้วยกัน 2 คน ตอนนี้เรากำลังจะหย่ากันเพราะมีปัญหาครอบครัวที่ไม่สามารถตกล...
Q : ดิฉันแต่งงานมีลูก และหย่ากับสามีตั้งแต่อายุ 17 ปี ในปี พ.ศ. 2521 ดิฉันได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง ใส่ชื่อและนามสกุลเดิมของดิฉัน ...
คำถาม     ผมกับภรรยาแต่งงานกันได้ 1 ปี โดยที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และตอนนี้เรายังไม่มีลูกด้วยกันครับ ส่วนภร...
Q :     ดิฉันหย่ากับสามีโดยคำสั่งศาลเมื่อปลายปีที่ผ่านมาค่ะ  โดยศาลได้ระบุเอาไว้สามีจะต้องจ่ายค่าเลี้ยงด...
Q : ดิฉันแต่งงานกับสามีโดยผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ  และได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฏหมาย แต่หลังจากที่แต่งงานกันได้ 2 ปีดิฉ...
Q :     เมื่อปีที่แล้วดิฉันได้ฟ้องหย่าสามี  และศาลได้มีคำพิพากษาให้เราหย่ากันเมื่อประมาวันที่ 20 ตุลาคม ...
  Q : ดิฉันกับสามีแต่งงานกันมาประมาณ 2 ปีแล้วค่ะ  ก่อนหน้านี้เราไม่ได้จดทะเบียนกัน เพราะดิฉันเองก็ไม่ได้ซีเรียสเ...
Q : ผมและภรรยาแยกกันอยู่เกือบ 2 ปีแล้ว แต่เรายังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากัน โดยลูกชายอายุ 7 ขวบ อยู่กับภรรยาที่บ้านแม่ยาย ส่วนผมจะไ...
Q : ดิฉันแต่งงานกับสามีมาได้ 4 ปี มีลูกด้วยกัน 2 คน ก่อนหน้านี้ครอบครัวเราก็อยู่กันปกติสุขดี แต่เมื่อต้นปีที่ผ่านดิฉันทราบว่าสามีสน...
    ผมเชื่อว่าที่ผ่านมาหลายๆ คนคงจะได้ยินข่าวเรื่องของการตรวจหรือไม่ตรวจ DNA ของคนนั้นคนนี้ก็มากมาย ผมก็เป็นคนห...
1  2  3  Next